3/31/2011
ขายผลิตภัณฆ์ ดร.สมชาย
ความเป็นมาของดร.สมชาย ผลิตภัณฆ์ดร.สมชาย ได้ตั้งต้นจากคลินิคผิวหนังหนึ่งแห่งใจกลางกรุงเทพฯ โดยผู้ก่อตั้งของเรา ดร.สมชาย เรืองวัฒนสุข ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากดร.สมชาย ได้จบจากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ไปศึกษาต่อที่สถาบันผิวหนัง รพ.เซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นได้ทำงานในแผนกโรคผิวหนัง พร้อมทั้งสอนวิชาผิวหนังที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ และเพิ่มพูนประสบการณ์ต่อ ณ แผนกโรคผิวหนัง รพ.กลาง ก่อนจะไปเปิดคลินิค ส่วนตัว จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ดูแลปัญหาผิวหลากหลายประเภท ตามความต้องการของคนไข้ รวมทั้งลูกค้าทั่วไป จากการวางขายในคลินิค ไม่นานก็ได้กระจายวางขายทั่วประเทศ มีแพทย์และเภสัชกรมาร่วมงานมากมาย และได้ขยายคลินิคออกไปอีกหลายสาขาเกือบทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทุกวันนี้ ทีมงานแพทย์และเภสัชกรของเราก็ยังคงค้นคว้า วิจัย สรรหาวิทยาการใหม่ๆ และสารสกัดจากธรรมชาติดีๆ มาเป็นสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อาจไม่ส่งผลดีต่อผิวในทันทีทันใด แต่ผิวจะค่อยๆ ดีขึ้น และไม่ส่งผลเสียต่อผิวในระยะยาวเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพพร้อมอ่อนโยน ไม่ระคายเคือง เราไม่เคยทำการทดลองผลิตภัณฑ์ของเราในสัตว์ จึงสบายใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้ไม่ได้มาจากการทำร้ายสัตว์ชนิดใด โรงงานดร.สมชาย ตั้งอยู่ใน จ.นนทบุรี ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และ ISO 9001/2000 นับเป็นโรงงานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่ดำเนินการโดยองค์กรเอกชน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์หลายชนิดของเรายังเคยได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ทั้งจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารชั้นนำหลากหลายฉบับ รายละเอียด ศูนย์บริการดร. สมชาย ได้เปิดสาขาแรกที่สยามแสควร์มากกว่า 16 ปี แล้วได้มีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง แล้วเริ่มขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้ทำการค้นคว้าวิจัย แล้วพัฒนาทดสอบสินค้า และบริการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจด้านของประสิทธภาพ และคิดค้นเพื่อพัฒนาสินค้า แล้วบริการใหม่ๆตลอดเวลา เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้บริษัทฯ ได้ผ่านการรองรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9001 จาก BVQI และ GMP (Good Manufacturing Practice) จากคณtกรรมการอาหารและยา โดยมีรางวัลจากสถาบัน ต่างๆ เป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จมากมาย อาทิ รางวัลเกียรติยศสินค้ายอดเยี่ยมประเภท เครื่องสำอาง จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนิตยสารผู้นำการตลาดประเภทเครื่องสำอาง ปี 2536 คุณสมบัติผู้ร่วมทุน 1. เป็นผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการ และต้องการความสำเร็จ 2. มีพื้นฐานทางธุรกิจที่มั่นคง และมีความพร้อมในการลงทุน 3. มีความตั้งใจ และมีเวลาให้กับธุรกิจ 4. มีความรู้ด้านการบริหารทั้งด้านการเงิน และบุคลากร การเลือกทำเลที่ตั้งร้าน 1. มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายในบริเวณรอบร้านเพียงพอ 2. ไป-มาสะดวก สามารถเห็นได้จากถนนใหญ่ (กรณีไม่ได้อยู่ในห้างสรรพสินค้า) 3. กรณีอยู่ในห้างสรรพสินค้า ต้องเป็นห้างที่มีศักยภาพในการบริหารที่ดี 4. บริษัทฯ กำหนดให้แต่ละสาขา ตั้งอยู่ห่างกันไม่ต่ำกว่า 8-10 กม. โดยพิจารณาจำนวนประชากรบริเวณนั้นๆ ประกอบ รูปแบบของศูนย์บริการ แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ แบบ A 50-100 ตร.ม. แบบ B 100 ตร.ม. ขึ้นไป สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร.สมชาย (Dr.Somchai) โทรศัพท์ 0-2251-1431, 0-2255-2805
3/23/2011
ขายน้ำอ้อยสด ไร่ไม่จน
ขายน้ำอ้อยสด ไร่ไม่จน
ใครจะคิดบ้างว่า น้ำอ้อยคั้นสด จะมาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มียอดขายไม่น้อยในแต่ละปี ไอเดียการนำธุรกิจที่มีอยู่แล้วมาต่อยอดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ธุรกิจธรรมดาๆที่เราเห็นจนชินตา แต่จะแตกต่างกันออกไป เมื่ออยุ่ในการบริหารของคนที่เข้าใจเรื่องการทำธุรกิจ
ดังเช่น “น้ำอ้อยไร่ไม่จน” ที่ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2546 จากการร่วมทุนของเกษตกรชาวไร่อ้อย ตำบล กรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ที่เชี่ยวชาญการปลูกอ้อยมานาน กว่า 50 ปี โดยใช้ระบบชลประทานใต้ดินและการคัดสายพันธุ์อ้อยที่ดี และถูกต้องตามหลักวิชาการ จนประสบความสำเร็จเป็นอันดับ1 ในด้านการผลิตน้ำอ้อย สดพาสเจอร์ไรซ์ สามารถขายได้ทั่วประเทศและยังมีน้ำอ้อยสด ขายได้ตลอดทั้งปี เป็นเพราะประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทั้งหมดคือรากฐาน ของความเป็นเกษตรเชิงธุรกิจครบวงจรแบบพอเพียง ของ น้ำอ้อยไร่ไม่จน วันนี้กำลังก้าวไปสู่มาตราฐานการผลิต GMP, HACCP และ HALAL ซึ่งเป็นระบบคุณภาพระดับสากล ที่ทั่วโลกยอมรับกัน
ทุกวันนี้น้ำอ้อยไร่ไม่จนไดัรับการยอมรับและมีการเผยแพร่ตามสื่อ ต่างๆเช่น รายการทีวี,นิตยสาร ฯลฯ
น้ำอ้อยไร่ไม่จนมีความแน่วแน่ที่จะทำเพื่อสิ่งเหล่านี้
-ให้เกษตรกรและพนักงานทุกคน ได้มีส่วนร่วมในระบบคุณภาพ
-ให้บริการสดสะอาดจากไร่ ตรงตามความต้องการของลูกค้าและได้ มาตราฐาน
-พัฒนาเกษตรกรและพนักงานอย่างต่อเนื่อง
-ส่งเสริมความรู้และให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี่ให้ทันสมัย รายละเอียดน้ำอ้อยไร่ไม่จน
รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์น้ำอ้อยไร่ไม่จน สินค้าที่ทางน้ำอ้อยไร่ไม่จน นำมาจำหน่ายนั้นจะเป็นนาอ้อยธรรมชาติ 100%
จุดเด่นของน้ำอ้อยไร่ไม่จน
คงเป็นเรื่องวัตถุดิบที่มีตลอดปีกับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อร่างกายขบวนการผลิตสะอาดถูกหลักอนามัย สินค้ามีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้นจึงตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่ายFranchise Policy
ทางบริษัทฯ มีนโยบายในการขายแฟรนไชนส์ โดยจะเน้นพื้นที่ที่เป็นแหล่งชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดสดและสถานศึกษาต่างๆ เป็นต้น เริ่มแรกได้กำหนดเขตขนส่งที่สะดวกก่อนคือ ราชบุรี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ, นนทบุรี, ปทุมธานี และ กรุงเทพฯ รูปแบบการลงทุนน้ำอ้อยไร่ไม่จน
คุณสมบัติของผู้ลงทุน
1. บุคคลธรรมดา (ต้องเป็นคนที่มีใจรักในเรื่องของการบริการ มีความอดทนละเอียดอ่อนในทุกๆ เรื่อง เพราะอาหารเป็นเรื่องของความสะอาดและมีผลต่อสุขภาพของผู้อื่น)
2. เป็นเจ้าของอาคารที่ดิน หรือ เป็นเจ้าของสิทธิ์การเช่าพื้นที่ขาย
3. มีความพร้อมในเรื่องของเงิน
4. มีความตั้งใจจริงกับธุรกิจและให้เวลาพอสมควร
5. ยอมรับเงื่อนไขต่างๆที่ทางบริษัทกำหนดให้
งบประมาณการลงทุน
1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ไม่มีการเก็บ
2. ค่าเปอร์เช็นต์งานขายรายปีไม่มี
3. ค่าอุปกรณ์งานขายโต๊ะ, เครื่องปั่นเกล็ด, ถังแช่, อื่นๆ จำนวน 110,000 บาท
อุปกรณ์ที่ได้หลักๆมีดังนี้
-เครื่องปั่นเกล็ดน้ำแข็งรุ่น 3 โถ
-โต๊ะ
-สินค้าสำหรับโปรโมท (น้ำอ้อย 20 กก.,วุ้นน้ำอ้อย 20 กก.,นม 10 กก.)
-แก้ว ( ขนาด 7,12,16 ออนล์)
-ชุดทำความสะอาด
-ถังแช่ผลิตภัณฑ์ขนาด 300 ลิตร
สนใจธุรกิจน้ำอ้อยไร่ไม่จน
โทรศัพท์ 0-97731745, 0-1400-7374
ดำเนินการโดย บริษัท น้ำอ้อยไร่ไม่จน จำกัด
ดังเช่น “น้ำอ้อยไร่ไม่จน” ที่ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2546 จากการร่วมทุนของเกษตกรชาวไร่อ้อย ตำบล กรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ที่เชี่ยวชาญการปลูกอ้อยมานาน กว่า 50 ปี โดยใช้ระบบชลประทานใต้ดินและการคัดสายพันธุ์อ้อยที่ดี และถูกต้องตามหลักวิชาการ จนประสบความสำเร็จเป็นอันดับ1 ในด้านการผลิตน้ำอ้อย สดพาสเจอร์ไรซ์ สามารถขายได้ทั่วประเทศและยังมีน้ำอ้อยสด ขายได้ตลอดทั้งปี เป็นเพราะประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทั้งหมดคือรากฐาน ของความเป็นเกษตรเชิงธุรกิจครบวงจรแบบพอเพียง ของ น้ำอ้อยไร่ไม่จน วันนี้กำลังก้าวไปสู่มาตราฐานการผลิต GMP, HACCP และ HALAL ซึ่งเป็นระบบคุณภาพระดับสากล ที่ทั่วโลกยอมรับกัน
ทุกวันนี้น้ำอ้อยไร่ไม่จนไดัรับการยอมรับและมีการเผยแพร่ตามสื่อ ต่างๆเช่น รายการทีวี,นิตยสาร ฯลฯ
น้ำอ้อยไร่ไม่จนมีความแน่วแน่ที่จะทำเพื่อสิ่งเหล่านี้
-ให้เกษตรกรและพนักงานทุกคน ได้มีส่วนร่วมในระบบคุณภาพ
-ให้บริการสดสะอาดจากไร่ ตรงตามความต้องการของลูกค้าและได้ มาตราฐาน
-พัฒนาเกษตรกรและพนักงานอย่างต่อเนื่อง
-ส่งเสริมความรู้และให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี่ให้ทันสมัย รายละเอียดน้ำอ้อยไร่ไม่จน
รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์น้ำอ้อยไร่ไม่จน สินค้าที่ทางน้ำอ้อยไร่ไม่จน นำมาจำหน่ายนั้นจะเป็นนาอ้อยธรรมชาติ 100%
จุดเด่นของน้ำอ้อยไร่ไม่จน
คงเป็นเรื่องวัตถุดิบที่มีตลอดปีกับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อร่างกายขบวนการผลิตสะอาดถูกหลักอนามัย สินค้ามีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้นจึงตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่ายFranchise Policy
ทางบริษัทฯ มีนโยบายในการขายแฟรนไชนส์ โดยจะเน้นพื้นที่ที่เป็นแหล่งชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดสดและสถานศึกษาต่างๆ เป็นต้น เริ่มแรกได้กำหนดเขตขนส่งที่สะดวกก่อนคือ ราชบุรี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ, นนทบุรี, ปทุมธานี และ กรุงเทพฯ รูปแบบการลงทุนน้ำอ้อยไร่ไม่จน
คุณสมบัติของผู้ลงทุน
1. บุคคลธรรมดา (ต้องเป็นคนที่มีใจรักในเรื่องของการบริการ มีความอดทนละเอียดอ่อนในทุกๆ เรื่อง เพราะอาหารเป็นเรื่องของความสะอาดและมีผลต่อสุขภาพของผู้อื่น)
2. เป็นเจ้าของอาคารที่ดิน หรือ เป็นเจ้าของสิทธิ์การเช่าพื้นที่ขาย
3. มีความพร้อมในเรื่องของเงิน
4. มีความตั้งใจจริงกับธุรกิจและให้เวลาพอสมควร
5. ยอมรับเงื่อนไขต่างๆที่ทางบริษัทกำหนดให้
งบประมาณการลงทุน
1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ไม่มีการเก็บ
2. ค่าเปอร์เช็นต์งานขายรายปีไม่มี
3. ค่าอุปกรณ์งานขายโต๊ะ, เครื่องปั่นเกล็ด, ถังแช่, อื่นๆ จำนวน 110,000 บาท
อุปกรณ์ที่ได้หลักๆมีดังนี้
-เครื่องปั่นเกล็ดน้ำแข็งรุ่น 3 โถ
-โต๊ะ
-สินค้าสำหรับโปรโมท (น้ำอ้อย 20 กก.,วุ้นน้ำอ้อย 20 กก.,นม 10 กก.)
-แก้ว ( ขนาด 7,12,16 ออนล์)
-ชุดทำความสะอาด
-ถังแช่ผลิตภัณฑ์ขนาด 300 ลิตร
สนใจธุรกิจน้ำอ้อยไร่ไม่จน
โทรศัพท์ 0-97731745, 0-1400-7374
ดำเนินการโดย บริษัท น้ำอ้อยไร่ไม่จน จำกัด
3/18/2011
ทำขนมไทยใส่กล่องส่งขาย
ธุรกิจทำขนมไทยใส่กล่องขาย จุดเด่น เป็นอาชีพเสริมที่ทำอยู่กับบ้าน
การดำเนินกิจการ
- สำรวจตลาด ร้านค้าที่จะสามารถนำขนมไปวางขายได้
- ตัดสินใจว่าจะทำขนมอะไรจำหน่ายบ้าง ควรเปลี่ยนไปในแต่ละวันเพื่อไม่ให้ลูกค้าเบื่อ
- ใช้วิธีการฝากขาย เหลือแล้วรับคืนเพราะในช่วงแรก คงไม่มีใครเสี่ยงซึ้อขาดทุน
ภาพจาก moph.go.th
การลงทุน
- เริ่มต้น3,000 บาท
อุปกรณ์ประกอบด้วย
-เตา หัวเตา รวมฐาน ประมาณ 1,๐๐๐-1,500 บาท (ยังรวมค่าถังแก๊ส)
-ลังถึงสำหรับนึ่ง 2 ชั้น เส้นผาศูนย์กลาง 24 นิ้ว 750-1,000 บาท
-กระทะ เบอร์ 16 350 บาท
-กำไรประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์
-การทำครั้งแรก ๆ ซื้อน้ำตาลทรายกับแป้งอย่างละ 5 กิโลกรัม น่าจะพอ ส่วนอุปกรณ์อึ่น ๆ เป็นอุปกรณ์ในการทำอาหารทั่วๆไป
-ส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นอุปกรณ์การทำอาหารทั่ว ๆ ไปจะเห็นว่าการเริ่มต้นเข้าสู่อาชีพนี้ ไม่ใช่เรึ่องยากเลย ทั้งนี้ต้องมีความพยายามเป็นที่ตั้ง
แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศนี้จะย่ำนเย่ แต่เราสามารถสร้างเศรษฐกิจภายในครอบครัวให้ดีขึ้นได้ด้วย
**หมายเหตุ
- หากไม่ใช่มืออาชีพในการทำขนม ช่วงแรกอาจจะลองทำกินเ่องหรือทำให้เพื่อนๆทดลองชิมก่อน โดยลองทำจากสูตรในหนังสือตำราอาหารทั่วไป และเริ่มต้นจำหน่ายจากน้อย ๆ ไปก่อนที่สำคัญ อย่านำขนมไม่ดี ขนมเสียไปวางขาย เด็ดขาด เพราะจะทำให้เสียลูกค้าตลอดไป พอเริ่มชำนาญทำหลายๆครั้ง ก็จะจับทางได้ จากนั้นลองทำจำหน่าย โดยเริ่มแต่น้อย อาจจะไปฝากวางตามร้านขายข้าว หรือร้านขายขนมอึ่น ๆ ซึ่้ใเรื่องการเจาะตลาดคงไม่ยาก เพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ง่าย ทีสำคัญต้องแน่ใจว่ารสชาติเข้าที่แล้วและการจะดูว่ารสชาติเข้าที่หรือยัง ก็ให้เพื่อน ๆ หรือ ญาติช่วยกันชิม แล้วถามความคิดเห็น นำความคิดเห็นนั้นมาปรับปรุง ถือหลักกลาง ๆ ไม่เอนเอียงไปที่คนใด คนหนึ่ง
การลงทุน ในระยะเริ่มแรกอยูที่ประมาณ 3,๐๐๐บาท
สูตรขนมไทยแบบต่างๆ
*ขนมตาล
ขนมหวานในคราวนี้ออกจะยุ่งยากสักหน่อย แต่หากได้ชิมขนมที่สำเร็จเสด็จออกมาจากเตาแล้ว รับรองหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งทีเดียว
ส่วนผสม
ผลตาลสุก2-3 ผล
น้ำตาลทราย 6 ถ้วยตวง
กะทิ 6 ถ้วยตวง
แป้ง 6 ถ้วยตวง
มะพร้าวขูดพอประมาณ
วิธีการทำ
1.นำลูกตาลมาลอกเปลือกออกแล้วยีเอาแต่เนื้อ ใส่ถุงแป้งแขวนไว้ 12 ชั่วโมง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ
เหลือแต่เนื้อล้วน ๆ ก่อนคิดจะทำขนมนี้ขายต้องเตรียมการล่วงหน้า 1 วัน
นำน้ำตาลไปเกี่ยวกับกะทิจนน้ำตาลละลา็ยระหว่างที่เกี่ยวอย่าใช้ไฟแรง เมื่อได้ส่วนผสมน้ำมาแล้ว
นำมาผสมกับเนื้อตาล 2 ถ้วยตวง และนวดกับแป้งจนได้ที่ จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดไปตั้งทิ้งไว้กลางแดด
12 ชั่วโมง เพื่อให้เนื้อขนมขึ้นฟู ขั้นตอนนี้ หากต้องการตั้งทิ้งไว้ตอนกลางคืนจะใช้ผงฟูช่วยด้วยก็ได้
ก่อนนำไปนึ่ง ให้โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดผสมเกลือเล็กน้อย ขนมตาลใช้เวลาในการนิ่งนาน 15 นาที
จับเวลานับแต่น้ำเดือด
*ข้าวต้มผัด (ข้าวต้มมัด)
ข้าวต้มผัด หรือข้าวต้มมัด เรียกได้เหมือนกัน ทั้งนีอาจจะเป็นลักษณะของขึ้นชนิดนี้ที่มีการมัด 2เปลาะ จึง
เรียกว่า ข้าวต้มมัด หรือลักษณะการนำข้าวเหนียวไปผัดกับกะทิและน้ำตาลก่อนจึงเรียกว่าข้าวต้มผัด
ขนมไทยชนิดนี้ มีมาแต่โบร่ำโบราณ เป็นขนมที่ออกจะไม่ค่อยเหมือนขนมอึ่น ๆ สักเท่าไหร่ เพราะกินแล้วหนักท้องกินแล้วอิ่ม เหมือนกินข้าว คนสมัยก่อนที่ต้องเดินทางไกล มักจะนำขนมนี้ ไปกินระหว่างทาง
ข้าวต้มมัด ยังมีคนทำขายกัน หากินได้ไม่ยาก ไม่ได้หายหน้าหายตาไปไหน ไม่ได้เป็นขนมโบราณที่กำลัง
จะเลือนหายอะไรอย่างนั้น แต่หาที่อร่อย ๆ ออกจะยากสักหน่อย ฉะนั้น เรามาทำกินเองดีกว่า เผลอ ๆ ออก
ขายได้เงินอีก
ข้าวต้มมัด
ส่วนผสม
1. ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม
2. กะทิ (จากมะพร้าว 5-6 ลูก)
3. น้ำตาลทราย 800 กรัม
4. กล้วยน้ำว้าสุก ๆ (สุกมาแล้วสัก 2 คืน)
5. เกลือป่น
6. ใบตอง
7.ถั่วดำ
8.ตอกไม้ไผ่ ใช้มัดข้าวต้ม
วิธีการทำ
1.นำข้าวเหนียวมาล้างให้สะอาด ช่วงที่ล้างนี้มีข้อสังเกตนิดหนึ่งคือ ข้าวเหนียวที่ตักออกมาใหม่ ๆ ใส่
กะละมัง ให้น้ำให้พอดี น่ถืงกับท่วม ปริมาณน้ำขนาดนี้ให้จำไว้ เพราะช่วงที่เตรียมกะทิสำหรับผัด ใช้กะทิ
ในปริมาณนี้เช่นกัน เมื่อล้างจนสะอาดแล้ว (สัก 2-3 ครั้ง) แช่ไว้สัก ประมาณ 10 นาที ราวขึ้นมาพักไว้ในกะละมัง
2.เคี่ยวกะทิจนเดือด ใส่ข้าวเหนียวลงไปผัด จัดจนแห้ง (อย่าใช้ไฟแรง) แล้วใส่น้ำตาลทรายลงไปผัดต่อ ผัดจนน้ำตาล รัดเม็ดข้าวดีแล้ว โรยเกลือนิดหน่อย ยกลงพักไว้
3.การห่อข้าวต้มมัด ตักข้าวเหนียววางบนใบตอง ตามด้วยกล้วยน้ำว้าผ่าซีก (ถ้าลูกใหญ่ ผ่า 3ซีก ลูกเล็กผ่า 2 ซีก) ตามด้วยข้าวเหนียวทับไปอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นจะประดับด้วยถั่วดำอีกก็ได้ แต่ต้องนำไปต้มมาก่อนแล้วจึงห่อ มัดด้วยตอก
4.นำไปเรียงในลังถึง ใช้เวลานึ่งชั่วโมงเศษ ๆ ก่อนยกลง นำมาแกะดูสักมัดหนึ่้ใก่อนว่าข้าวเหนียวสุกดีหรือไม่
ข้าวเิีหนียวเปียกกะทิ
ข้าวเิีหนียวดำเปียกกะทิข้าวเหนียวดาเปียกกะทิ เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำง่ายมาก ชวนจะอร่อยหรือไม่นั้น อยู่ที่ฝีมือของคนปรุงแล้วล่ะ ขนมชนิดนี้ควรระวังให้มากเรื่องความหวานเพราะหากหวานมากเกินไป บางคนไม่ชอบ
ส่วนผสม
ข้าวเหนียว 500 กรัม
น้ำตาลทราย 500 กรัม
กะทิสด 2 ถ้วยตวง
เกลือป่น
ขั้นตอนการทำ
นำข้าวเหนียวดำมาต้มพอสุกแล้วใส่น้ำตาลทรายพอประมาณ อย่าใส่น้ำตาลทรายก่อน
เพราะน้ำตาลจะรัดข้าวเหนียว ทำให้ไม่สุกส่วนกะทิ นำมาเคี่ยว (ไม่ต้องนาน) และเติมเกลือ
นิดหน่อย ก็ใช้ได้
*ข้าวเหนียวเปียกมะพร้าวอ่อน
ส่วนผสม
ข้าวเหนียว 500 กรัม
มะพร้าวอ่อน
น้ำตาลทราย 500 กรัม
กะทิสด 2 ถ้วยตวง
เกลือ
**อาจดัดแปลงเป็นลำไยหรึอสาคูได้ ถ้าเป็นสาคูต้องต้มให้สุกก่อน
ขั้นตอนการทำ
ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด นำมาต้ม (ลักษณะการทำเหมือนทำข้าวต้มธรรมดา) เมื่อเมล็ืดข้าวพองตัวแล้ว
ใส่น้ำตาลทราย ตามด้วยกะทิสด และมะพร้าวอ่อนเวลาเสิร์ฟให้หยอดหน้าด้วยกะทิข้น ซึ่งมีวิธีการทำคือ คั้น
เอาแต่หัวกะทิ ผสมด้วยเกลือ หากต้องการให้กะทิอยู่ได้นานขึ้น ให้นำไปตั้งไฟเคี่ยว โดยใส่แป้งมันละลาย
น้ำลงไปนิดหน่อย จะทำให้กะทิข้น และน่ากินมากขึ้น(การเคี่ยวกะทินี้ไม่ต้องนานมาก แค่พอกะทิเดือดและ
ข้นดีแล้วให้ยกลง)
*มะพร้าวแก้ว
มะพร้าวแก้ว เป็นขนมหวานพื้นบ้าน วัตถุดิบในการทำมีเพียง มะพร้าวและน้ำตาล 2 อย่างเท่านั้นมะพร้าวแก้วมีวิธีการทำที่ไม่ยากเลย เพียงแต่หามะพร้าวทึนทึก (มะพร้าวกลางแก่กลางอ่อน) มาขูดให้เป็นเส้นยาว ลงไปเชื่อมในน้ำเชื่อมน้ำเชื่อม ที่มีส่วนผสมของ น้ำต่อน้ำตาล 1:2เคี่ยวจนขึ้นดีแล้ว จึงใส่มะพร้าวลงไป คอยให้น้ำตาลเข้าในเนื้อมะพร้าวจนขึ้นเกล็ดนั่นแหละจึงใช้ได้ จากนั้นนำขึ้นมานำซึ่งให้แห้งดี แล้วเก็บเข้าขวดโหลที่มีฝาปิดสนิท จะเก็บได้หลายวัน
*ขนมกล้วย
ส่วนผสม
1.กล้วยน้ำว้า 1 หวี (10-11ผล)เลือกกล้วยที่ค่อนข้างงอมแต่ไม่ถึงกับงอมจนเละ
2. แป้งข้าวเจ้า 500 กรัม
3. แป้งมันสำปะหลัง 400 กรัม
4. น้ำตาลทราย 600 กรัม
5. มะพร้าวห้าว 500 กรัม
6. กะทิ 1 ถ้วยตวง
7. เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.นำกล้วยกับแป้งข้าวเจ้ามานวดจนเหนียว ใส่น้ำตาลทราย ใส่น้ำนิดหน่อยพอให้ตักได้ข้นๆ
2.จากนั้นจึงใส่กะทิ มะพร้าว คนให้เข้ากัน หากไม่มีมะพร้าวห้าวใช้มะพร้าวขูดใส่แทนได้ มะพร้าวห้าวที่ใช้หั่นเป็นชิ้นๆไม่ต้องหนามาก
3.ตักใส่ใบตองแล้วห่อ จะห่อแบบสี่เหลี่ยม หรือใส่เป็นกระทงก็ได้แล้วนำไปนึ่งนาน 40 นาที
หรืออาจจะนำไปทอดแทนก็อร่อยไม่แพ้กัน หรือจะแบ่งทั้งนึ่ง ทั้งทอด ก็ได้
ขนมอร่อย ไปอีกแบบ
*ทับทิมกรอบ
ทับทิมกรอบ ขนมชนิดนี้ จะมีสีสันสวยงามนาม และอร่อย หวานเย้นชื่นใจ เหมาาะจะกินหน้าร้อน
ส่วนผสมของทับทิมกรอบ
แห้ว หรือมันแกว 1/2 กิโลกรัม
แป้งมัน 1 ถุง
น้ำตาลทราย 3/4 กิโลกรัม (ต้องกาพวาพากหรือน้อยเพื่อลดจำนวนได้)
น้ำสะอาด
กะทิสด (หัวกะทิ)
ขนุน
วิธีการทำ
ขั้นแรก หั่นมันแกว หรือแห้ว เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จากนั้นใส่น้ำหวานสีแดง เพื่อให้ดูเป็นเมล็ดทับ
ทิมมากขึ้น และน่ากินกว่าสีขาวล้วน จากนั้นนำไปคลุกด้วยแปังมัน แล้วพักไว้
ต้มน้ำให้เดือด ใส่มันแกว หรือแห้วลงไป พอสุกจะลอยขึ้นมาเอง ตักใส่ภาชนะไว้
ส่วนน้ำเชื่อม ให้ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย หวานมากน้อยตามต้องการ เมื่อยเดือด ยกลงพักไว้จนเย็น
ฉีกขนุนชิ้นตามยาวใส่ลงไป ส่วนผสมสุดท้ายคือ กะทิ ให้นั้นเอาแต่หัวกะทิไว้หยอดหน้าทับทิมกรอบ จะทำให้ขนมหวานมัน เสิร์ฟใส่ถ้วยเล็กพร้อมน้ำแข็งบดละเอียด
*กล้วยบวชชี
กล้วยบวชชีเป็นขนมพื้นบ้าน ทำง่ายที่สุด อร่อยที่สุดและราคาถูก
ส่วนผสมกล้วยบวชชี
กล้วยน้ำว้า
กะทิ
น้ำตาลทราย
เกลึอป่น
วิธีทำ
กะทที่คั้นได้ แยกไว้ เป็นหัวกะทิกับหางหางกะทิใส่หม้อ เคี่ยวสักพักใส่กล้วยใส่น้ำตาล
ทราย เกลือ ก็ใช้ได้แล้ว แต่ระวังอย่าใส่น้ำตาลมากจะหวานเกินไป กล้วยบวชชีที่อร่อยน่าจะออกรสหวาน
ปะแล่ม ๆ เค็มนิดหน่อย และมันพอควรในการทำกล้วยบวชชีนั้น ที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็น
ช่วงเคื่ยวกะทิ อย่าให้กะทิแตกมันเด็ดขาด มิฉะนั้นจะมันมาก และกล้วยที่ใช้ในการทำขนมนี้ คือกล้วยน้ำว้าที่ ห่าม ๆ หน่อย อย่าใช้กล้วยสุกเกินไป จะไม่อร่อย
*ขนมดอกจอก
ส่วนผสม
แป้งสาลี 4 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
เกลือ 3 ช้อนชา
งาดำ 1/2 ถ้วยตวง
แป้งมัน 2 ช้อนตวง
ไข่แดง 2 ฟอง
มะพร้าว 200 กรัม
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำปูนใส 2 ถ้วยตวง
น้ำมันสำหรับทอด
วิธีการทำ
นำแป้งทั้งหมดมาผสมกัน ตามด้วยน้ำตาลทราย เกลือ งาดำ ไข่แดง มะพร้าว หัวกะทิ และน้ำปูนใส คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี ้
จากนั้นนำลงทอดในกระทะโดยใช้พิมพ์ พิมพ์สำหรับขนมดอกจอกโดยเฉพาะ จุ่มพิมพ์ลงในแป้ง อย่าจุ่ม
พิมพ์ให้มิดแป้ง จากนั้นนำลงในน้ำมัน ยกพิมพ์ขึ้น ขนมผุดไปเอง คอยกลับขนม 1 ครั้ง พอเหลืองแล้วตัก
ขึ้น วางบนกระดาษสับมัน
นอกจากนี้ยังมีสูตรขนมไทยอีกมากมาย ติดตามได้ที่ http://baankhanom.blogspot.com/ มีสูตรขนม ใหม่ๆ อัพเดตเพิ่มเติมตลอดเวลา
การดำเนินกิจการ
- สำรวจตลาด ร้านค้าที่จะสามารถนำขนมไปวางขายได้
- ตัดสินใจว่าจะทำขนมอะไรจำหน่ายบ้าง ควรเปลี่ยนไปในแต่ละวันเพื่อไม่ให้ลูกค้าเบื่อ
- ใช้วิธีการฝากขาย เหลือแล้วรับคืนเพราะในช่วงแรก คงไม่มีใครเสี่ยงซึ้อขาดทุน
ภาพจาก moph.go.th
การลงทุน
- เริ่มต้น3,000 บาท
อุปกรณ์ประกอบด้วย
-เตา หัวเตา รวมฐาน ประมาณ 1,๐๐๐-1,500 บาท (ยังรวมค่าถังแก๊ส)
-ลังถึงสำหรับนึ่ง 2 ชั้น เส้นผาศูนย์กลาง 24 นิ้ว 750-1,000 บาท
-กระทะ เบอร์ 16 350 บาท
-กำไรประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์
-การทำครั้งแรก ๆ ซื้อน้ำตาลทรายกับแป้งอย่างละ 5 กิโลกรัม น่าจะพอ ส่วนอุปกรณ์อึ่น ๆ เป็นอุปกรณ์ในการทำอาหารทั่วๆไป
-ส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นอุปกรณ์การทำอาหารทั่ว ๆ ไปจะเห็นว่าการเริ่มต้นเข้าสู่อาชีพนี้ ไม่ใช่เรึ่องยากเลย ทั้งนี้ต้องมีความพยายามเป็นที่ตั้ง
แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศนี้จะย่ำนเย่ แต่เราสามารถสร้างเศรษฐกิจภายในครอบครัวให้ดีขึ้นได้ด้วย
**หมายเหตุ
- หากไม่ใช่มืออาชีพในการทำขนม ช่วงแรกอาจจะลองทำกินเ่องหรือทำให้เพื่อนๆทดลองชิมก่อน โดยลองทำจากสูตรในหนังสือตำราอาหารทั่วไป และเริ่มต้นจำหน่ายจากน้อย ๆ ไปก่อนที่สำคัญ อย่านำขนมไม่ดี ขนมเสียไปวางขาย เด็ดขาด เพราะจะทำให้เสียลูกค้าตลอดไป พอเริ่มชำนาญทำหลายๆครั้ง ก็จะจับทางได้ จากนั้นลองทำจำหน่าย โดยเริ่มแต่น้อย อาจจะไปฝากวางตามร้านขายข้าว หรือร้านขายขนมอึ่น ๆ ซึ่้ใเรื่องการเจาะตลาดคงไม่ยาก เพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ง่าย ทีสำคัญต้องแน่ใจว่ารสชาติเข้าที่แล้วและการจะดูว่ารสชาติเข้าที่หรือยัง ก็ให้เพื่อน ๆ หรือ ญาติช่วยกันชิม แล้วถามความคิดเห็น นำความคิดเห็นนั้นมาปรับปรุง ถือหลักกลาง ๆ ไม่เอนเอียงไปที่คนใด คนหนึ่ง
การลงทุน ในระยะเริ่มแรกอยูที่ประมาณ 3,๐๐๐บาท
สูตรขนมไทยแบบต่างๆ
*ขนมตาล
ขนมหวานในคราวนี้ออกจะยุ่งยากสักหน่อย แต่หากได้ชิมขนมที่สำเร็จเสด็จออกมาจากเตาแล้ว รับรองหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งทีเดียว
ส่วนผสม
ผลตาลสุก2-3 ผล
น้ำตาลทราย 6 ถ้วยตวง
กะทิ 6 ถ้วยตวง
แป้ง 6 ถ้วยตวง
มะพร้าวขูดพอประมาณ
วิธีการทำ
1.นำลูกตาลมาลอกเปลือกออกแล้วยีเอาแต่เนื้อ ใส่ถุงแป้งแขวนไว้ 12 ชั่วโมง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ
เหลือแต่เนื้อล้วน ๆ ก่อนคิดจะทำขนมนี้ขายต้องเตรียมการล่วงหน้า 1 วัน
นำน้ำตาลไปเกี่ยวกับกะทิจนน้ำตาลละลา็ยระหว่างที่เกี่ยวอย่าใช้ไฟแรง เมื่อได้ส่วนผสมน้ำมาแล้ว
นำมาผสมกับเนื้อตาล 2 ถ้วยตวง และนวดกับแป้งจนได้ที่ จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดไปตั้งทิ้งไว้กลางแดด
12 ชั่วโมง เพื่อให้เนื้อขนมขึ้นฟู ขั้นตอนนี้ หากต้องการตั้งทิ้งไว้ตอนกลางคืนจะใช้ผงฟูช่วยด้วยก็ได้
ก่อนนำไปนึ่ง ให้โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดผสมเกลือเล็กน้อย ขนมตาลใช้เวลาในการนิ่งนาน 15 นาที
จับเวลานับแต่น้ำเดือด
*ข้าวต้มผัด (ข้าวต้มมัด)
ข้าวต้มผัด หรือข้าวต้มมัด เรียกได้เหมือนกัน ทั้งนีอาจจะเป็นลักษณะของขึ้นชนิดนี้ที่มีการมัด 2เปลาะ จึง
เรียกว่า ข้าวต้มมัด หรือลักษณะการนำข้าวเหนียวไปผัดกับกะทิและน้ำตาลก่อนจึงเรียกว่าข้าวต้มผัด
ขนมไทยชนิดนี้ มีมาแต่โบร่ำโบราณ เป็นขนมที่ออกจะไม่ค่อยเหมือนขนมอึ่น ๆ สักเท่าไหร่ เพราะกินแล้วหนักท้องกินแล้วอิ่ม เหมือนกินข้าว คนสมัยก่อนที่ต้องเดินทางไกล มักจะนำขนมนี้ ไปกินระหว่างทาง
ข้าวต้มมัด ยังมีคนทำขายกัน หากินได้ไม่ยาก ไม่ได้หายหน้าหายตาไปไหน ไม่ได้เป็นขนมโบราณที่กำลัง
จะเลือนหายอะไรอย่างนั้น แต่หาที่อร่อย ๆ ออกจะยากสักหน่อย ฉะนั้น เรามาทำกินเองดีกว่า เผลอ ๆ ออก
ขายได้เงินอีก
ข้าวต้มมัด
ส่วนผสม
1. ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม
2. กะทิ (จากมะพร้าว 5-6 ลูก)
3. น้ำตาลทราย 800 กรัม
4. กล้วยน้ำว้าสุก ๆ (สุกมาแล้วสัก 2 คืน)
5. เกลือป่น
6. ใบตอง
7.ถั่วดำ
8.ตอกไม้ไผ่ ใช้มัดข้าวต้ม
วิธีการทำ
1.นำข้าวเหนียวมาล้างให้สะอาด ช่วงที่ล้างนี้มีข้อสังเกตนิดหนึ่งคือ ข้าวเหนียวที่ตักออกมาใหม่ ๆ ใส่
กะละมัง ให้น้ำให้พอดี น่ถืงกับท่วม ปริมาณน้ำขนาดนี้ให้จำไว้ เพราะช่วงที่เตรียมกะทิสำหรับผัด ใช้กะทิ
ในปริมาณนี้เช่นกัน เมื่อล้างจนสะอาดแล้ว (สัก 2-3 ครั้ง) แช่ไว้สัก ประมาณ 10 นาที ราวขึ้นมาพักไว้ในกะละมัง
2.เคี่ยวกะทิจนเดือด ใส่ข้าวเหนียวลงไปผัด จัดจนแห้ง (อย่าใช้ไฟแรง) แล้วใส่น้ำตาลทรายลงไปผัดต่อ ผัดจนน้ำตาล รัดเม็ดข้าวดีแล้ว โรยเกลือนิดหน่อย ยกลงพักไว้
3.การห่อข้าวต้มมัด ตักข้าวเหนียววางบนใบตอง ตามด้วยกล้วยน้ำว้าผ่าซีก (ถ้าลูกใหญ่ ผ่า 3ซีก ลูกเล็กผ่า 2 ซีก) ตามด้วยข้าวเหนียวทับไปอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นจะประดับด้วยถั่วดำอีกก็ได้ แต่ต้องนำไปต้มมาก่อนแล้วจึงห่อ มัดด้วยตอก
4.นำไปเรียงในลังถึง ใช้เวลานึ่งชั่วโมงเศษ ๆ ก่อนยกลง นำมาแกะดูสักมัดหนึ่้ใก่อนว่าข้าวเหนียวสุกดีหรือไม่
ข้าวเิีหนียวเปียกกะทิ
ข้าวเิีหนียวดำเปียกกะทิข้าวเหนียวดาเปียกกะทิ เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำง่ายมาก ชวนจะอร่อยหรือไม่นั้น อยู่ที่ฝีมือของคนปรุงแล้วล่ะ ขนมชนิดนี้ควรระวังให้มากเรื่องความหวานเพราะหากหวานมากเกินไป บางคนไม่ชอบ
ส่วนผสม
ข้าวเหนียว 500 กรัม
น้ำตาลทราย 500 กรัม
กะทิสด 2 ถ้วยตวง
เกลือป่น
ขั้นตอนการทำ
นำข้าวเหนียวดำมาต้มพอสุกแล้วใส่น้ำตาลทรายพอประมาณ อย่าใส่น้ำตาลทรายก่อน
เพราะน้ำตาลจะรัดข้าวเหนียว ทำให้ไม่สุกส่วนกะทิ นำมาเคี่ยว (ไม่ต้องนาน) และเติมเกลือ
นิดหน่อย ก็ใช้ได้
*ข้าวเหนียวเปียกมะพร้าวอ่อน
ส่วนผสม
ข้าวเหนียว 500 กรัม
มะพร้าวอ่อน
น้ำตาลทราย 500 กรัม
กะทิสด 2 ถ้วยตวง
เกลือ
**อาจดัดแปลงเป็นลำไยหรึอสาคูได้ ถ้าเป็นสาคูต้องต้มให้สุกก่อน
ขั้นตอนการทำ
ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด นำมาต้ม (ลักษณะการทำเหมือนทำข้าวต้มธรรมดา) เมื่อเมล็ืดข้าวพองตัวแล้ว
ใส่น้ำตาลทราย ตามด้วยกะทิสด และมะพร้าวอ่อนเวลาเสิร์ฟให้หยอดหน้าด้วยกะทิข้น ซึ่งมีวิธีการทำคือ คั้น
เอาแต่หัวกะทิ ผสมด้วยเกลือ หากต้องการให้กะทิอยู่ได้นานขึ้น ให้นำไปตั้งไฟเคี่ยว โดยใส่แป้งมันละลาย
น้ำลงไปนิดหน่อย จะทำให้กะทิข้น และน่ากินมากขึ้น(การเคี่ยวกะทินี้ไม่ต้องนานมาก แค่พอกะทิเดือดและ
ข้นดีแล้วให้ยกลง)
*มะพร้าวแก้ว
มะพร้าวแก้ว เป็นขนมหวานพื้นบ้าน วัตถุดิบในการทำมีเพียง มะพร้าวและน้ำตาล 2 อย่างเท่านั้นมะพร้าวแก้วมีวิธีการทำที่ไม่ยากเลย เพียงแต่หามะพร้าวทึนทึก (มะพร้าวกลางแก่กลางอ่อน) มาขูดให้เป็นเส้นยาว ลงไปเชื่อมในน้ำเชื่อมน้ำเชื่อม ที่มีส่วนผสมของ น้ำต่อน้ำตาล 1:2เคี่ยวจนขึ้นดีแล้ว จึงใส่มะพร้าวลงไป คอยให้น้ำตาลเข้าในเนื้อมะพร้าวจนขึ้นเกล็ดนั่นแหละจึงใช้ได้ จากนั้นนำขึ้นมานำซึ่งให้แห้งดี แล้วเก็บเข้าขวดโหลที่มีฝาปิดสนิท จะเก็บได้หลายวัน
*ขนมกล้วย
ส่วนผสม
1.กล้วยน้ำว้า 1 หวี (10-11ผล)เลือกกล้วยที่ค่อนข้างงอมแต่ไม่ถึงกับงอมจนเละ
2. แป้งข้าวเจ้า 500 กรัม
3. แป้งมันสำปะหลัง 400 กรัม
4. น้ำตาลทราย 600 กรัม
5. มะพร้าวห้าว 500 กรัม
6. กะทิ 1 ถ้วยตวง
7. เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.นำกล้วยกับแป้งข้าวเจ้ามานวดจนเหนียว ใส่น้ำตาลทราย ใส่น้ำนิดหน่อยพอให้ตักได้ข้นๆ
2.จากนั้นจึงใส่กะทิ มะพร้าว คนให้เข้ากัน หากไม่มีมะพร้าวห้าวใช้มะพร้าวขูดใส่แทนได้ มะพร้าวห้าวที่ใช้หั่นเป็นชิ้นๆไม่ต้องหนามาก
3.ตักใส่ใบตองแล้วห่อ จะห่อแบบสี่เหลี่ยม หรือใส่เป็นกระทงก็ได้แล้วนำไปนึ่งนาน 40 นาที
หรืออาจจะนำไปทอดแทนก็อร่อยไม่แพ้กัน หรือจะแบ่งทั้งนึ่ง ทั้งทอด ก็ได้
ขนมอร่อย ไปอีกแบบ
*ทับทิมกรอบ
ทับทิมกรอบ ขนมชนิดนี้ จะมีสีสันสวยงามนาม และอร่อย หวานเย้นชื่นใจ เหมาาะจะกินหน้าร้อน
ส่วนผสมของทับทิมกรอบ
แห้ว หรือมันแกว 1/2 กิโลกรัม
แป้งมัน 1 ถุง
น้ำตาลทราย 3/4 กิโลกรัม (ต้องกาพวาพากหรือน้อยเพื่อลดจำนวนได้)
น้ำสะอาด
กะทิสด (หัวกะทิ)
ขนุน
วิธีการทำ
ขั้นแรก หั่นมันแกว หรือแห้ว เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จากนั้นใส่น้ำหวานสีแดง เพื่อให้ดูเป็นเมล็ดทับ
ทิมมากขึ้น และน่ากินกว่าสีขาวล้วน จากนั้นนำไปคลุกด้วยแปังมัน แล้วพักไว้
ต้มน้ำให้เดือด ใส่มันแกว หรือแห้วลงไป พอสุกจะลอยขึ้นมาเอง ตักใส่ภาชนะไว้
ส่วนน้ำเชื่อม ให้ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย หวานมากน้อยตามต้องการ เมื่อยเดือด ยกลงพักไว้จนเย็น
ฉีกขนุนชิ้นตามยาวใส่ลงไป ส่วนผสมสุดท้ายคือ กะทิ ให้นั้นเอาแต่หัวกะทิไว้หยอดหน้าทับทิมกรอบ จะทำให้ขนมหวานมัน เสิร์ฟใส่ถ้วยเล็กพร้อมน้ำแข็งบดละเอียด
*กล้วยบวชชี
กล้วยบวชชีเป็นขนมพื้นบ้าน ทำง่ายที่สุด อร่อยที่สุดและราคาถูก
ส่วนผสมกล้วยบวชชี
กล้วยน้ำว้า
กะทิ
น้ำตาลทราย
เกลึอป่น
วิธีทำ
กะทที่คั้นได้ แยกไว้ เป็นหัวกะทิกับหางหางกะทิใส่หม้อ เคี่ยวสักพักใส่กล้วยใส่น้ำตาล
ทราย เกลือ ก็ใช้ได้แล้ว แต่ระวังอย่าใส่น้ำตาลมากจะหวานเกินไป กล้วยบวชชีที่อร่อยน่าจะออกรสหวาน
ปะแล่ม ๆ เค็มนิดหน่อย และมันพอควรในการทำกล้วยบวชชีนั้น ที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็น
ช่วงเคื่ยวกะทิ อย่าให้กะทิแตกมันเด็ดขาด มิฉะนั้นจะมันมาก และกล้วยที่ใช้ในการทำขนมนี้ คือกล้วยน้ำว้าที่ ห่าม ๆ หน่อย อย่าใช้กล้วยสุกเกินไป จะไม่อร่อย
*ขนมดอกจอก
ส่วนผสม
แป้งสาลี 4 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
เกลือ 3 ช้อนชา
งาดำ 1/2 ถ้วยตวง
แป้งมัน 2 ช้อนตวง
ไข่แดง 2 ฟอง
มะพร้าว 200 กรัม
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำปูนใส 2 ถ้วยตวง
น้ำมันสำหรับทอด
วิธีการทำ
นำแป้งทั้งหมดมาผสมกัน ตามด้วยน้ำตาลทราย เกลือ งาดำ ไข่แดง มะพร้าว หัวกะทิ และน้ำปูนใส คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี ้
จากนั้นนำลงทอดในกระทะโดยใช้พิมพ์ พิมพ์สำหรับขนมดอกจอกโดยเฉพาะ จุ่มพิมพ์ลงในแป้ง อย่าจุ่ม
พิมพ์ให้มิดแป้ง จากนั้นนำลงในน้ำมัน ยกพิมพ์ขึ้น ขนมผุดไปเอง คอยกลับขนม 1 ครั้ง พอเหลืองแล้วตัก
ขึ้น วางบนกระดาษสับมัน
นอกจากนี้ยังมีสูตรขนมไทยอีกมากมาย ติดตามได้ที่ http://baankhanom.blogspot.com/ มีสูตรขนม ใหม่ๆ อัพเดตเพิ่มเติมตลอดเวลา
3/07/2011
ขายข้าวเม่าทอด
อาชีพขายข้าวเม่าทอด ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพ ที่น่าสนใจเพราะใช้เงินลงทุนต่ำ แต่ได้กำไรดี ทำง่าย ขายง่าย เพราะคนนิยมกินกันและหากินได้ยากพอควร แต่ต้องมองหาทำเลดีๆ หาที่ๆเหมาะสม ใกล้กับแหล่งชุมชน หรือ สถานศึกษา
ข้าวเม่าทอดเจ้าที่อร่อยๆขายดี มีที่ไหนบ้าง อาจจะทดลองตะเวณชิม และดูว่าเขาทำกันยังไง ไปชิมหลายๆเจ้าแล้วมาลองคิดเปรียบเทียบเพื่อปรับปรุง ดัดแปลงเป็นสูตรของเราเอง ดูว่าเทคนิคการทอด ทำยังไงข้าวเม่าทอดถึงจะกรอบอร่อย ใส่ใจเรื่องความสะอาดและใส่ใจลูกค้า เพื่อให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ
สูตรข้าวเม่าทอด
สูตรนี้เป็นสูตรข้าวเม่าทอดเจ้าอร่อยที่มีส่วนผสมง่ายๆ ทดลองทำตามได้สบายๆ ดดยส่วผสมจะมี2 ส่วน ส่วนแรกใช้สำหรับ
ส่วนผสมข้าวเม่าทอด
- กล้วยไข่สุก 1 หวี
- มะพร้าวขูด 400 กรัม
- ข้าวเม่าแห้ง(ข้าวเจ้า) 400 กรัม
- น้ำตาลปี๊บ 400 กรัม
- น้ำตาลทราย 200 กรัม
ส่วนที่ 2
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม
- แป้งสาลี 250 กรัม
- เกลือป่น 50 กรัม
- มะพร้าวขูด 300 กรัม
วิธีทำ
1. นำส่วนผสม ส่วนที่ 1ได้แก่ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทรายผสมให้เข้ากัน จากนั้นเทน้ำสะอาดลงเล็กน้อย คลุกเค้ลาพอน้ำตาลละลายเข้ากัน
2.นำไปตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว จึงใส่มะพร้าวขูดลงไป เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆจนเกือบแห้ง ใส่ข้าวเม่าแห้งลงไปเคี่ยวต่อจนแห้ง แล้วยกลงจากเตาพักไว้
3. ส่วนผสมส่วนที่ 2 คั้นมะพร้าวให้ได้หัวกะทิ 1.5 ถ้วยตวง หางกะทิ 1.5 ถ้วยตวง นำหัวกะทิเทลงในแป้งทั้ง 2 ชนิดที่ผสมกันไว้ ใส่เกลือป่น แล้วนวดให้เข้ากัน ตอกไข่ใส่ลงไป นวดต่อ รินหางกะทิลงไปผสม นวดต่อไปจนเนื้อแป้งไม่ติดมือ
4. ตั้งกระทะโดยไฟปานกลาง ใส่น้ำมันลงไป กะให้พอท่วมกล้วยที่จะทอด นำกล้วยที่ปอกเปลือกแล้วมาห่อด้วยส่วนผสมที่ 1 ห่อให้บางอย่าหนามากจะไม่กรอบ พอน้ำมันร้อนได้ที่ จึงนำกล้วยที่ห่อแล้ว ลงชุบในส่วนผสมที่ 2 และลงทอดติดกันเป็นคู่
5. เอามือจุ่มแป้ง ส่วนผสมที่ 2 โรยลงทอดในกระทะ และคอยเขี่ยให้มารวมกันเป็นแพ ตักช้อนขึ้นวางบนกล้วยที่กำลังทอด เมื่อแป้งที่ห่อกล้วยสุกเหลือง จึงตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน เตรียมรอขายได้
ข้าวเม่าทอดเจ้าที่อร่อยๆขายดี มีที่ไหนบ้าง อาจจะทดลองตะเวณชิม และดูว่าเขาทำกันยังไง ไปชิมหลายๆเจ้าแล้วมาลองคิดเปรียบเทียบเพื่อปรับปรุง ดัดแปลงเป็นสูตรของเราเอง ดูว่าเทคนิคการทอด ทำยังไงข้าวเม่าทอดถึงจะกรอบอร่อย ใส่ใจเรื่องความสะอาดและใส่ใจลูกค้า เพื่อให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ
สูตรข้าวเม่าทอด
สูตรนี้เป็นสูตรข้าวเม่าทอดเจ้าอร่อยที่มีส่วนผสมง่ายๆ ทดลองทำตามได้สบายๆ ดดยส่วผสมจะมี2 ส่วน ส่วนแรกใช้สำหรับ
ส่วนผสมข้าวเม่าทอด
- กล้วยไข่สุก 1 หวี
- มะพร้าวขูด 400 กรัม
- ข้าวเม่าแห้ง(ข้าวเจ้า) 400 กรัม
- น้ำตาลปี๊บ 400 กรัม
- น้ำตาลทราย 200 กรัม
ส่วนที่ 2
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม
- แป้งสาลี 250 กรัม
- เกลือป่น 50 กรัม
- มะพร้าวขูด 300 กรัม
วิธีทำ
1. นำส่วนผสม ส่วนที่ 1ได้แก่ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทรายผสมให้เข้ากัน จากนั้นเทน้ำสะอาดลงเล็กน้อย คลุกเค้ลาพอน้ำตาลละลายเข้ากัน
2.นำไปตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว จึงใส่มะพร้าวขูดลงไป เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆจนเกือบแห้ง ใส่ข้าวเม่าแห้งลงไปเคี่ยวต่อจนแห้ง แล้วยกลงจากเตาพักไว้
3. ส่วนผสมส่วนที่ 2 คั้นมะพร้าวให้ได้หัวกะทิ 1.5 ถ้วยตวง หางกะทิ 1.5 ถ้วยตวง นำหัวกะทิเทลงในแป้งทั้ง 2 ชนิดที่ผสมกันไว้ ใส่เกลือป่น แล้วนวดให้เข้ากัน ตอกไข่ใส่ลงไป นวดต่อ รินหางกะทิลงไปผสม นวดต่อไปจนเนื้อแป้งไม่ติดมือ
4. ตั้งกระทะโดยไฟปานกลาง ใส่น้ำมันลงไป กะให้พอท่วมกล้วยที่จะทอด นำกล้วยที่ปอกเปลือกแล้วมาห่อด้วยส่วนผสมที่ 1 ห่อให้บางอย่าหนามากจะไม่กรอบ พอน้ำมันร้อนได้ที่ จึงนำกล้วยที่ห่อแล้ว ลงชุบในส่วนผสมที่ 2 และลงทอดติดกันเป็นคู่
5. เอามือจุ่มแป้ง ส่วนผสมที่ 2 โรยลงทอดในกระทะ และคอยเขี่ยให้มารวมกันเป็นแพ ตักช้อนขึ้นวางบนกล้วยที่กำลังทอด เมื่อแป้งที่ห่อกล้วยสุกเหลือง จึงตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน เตรียมรอขายได้
Subscribe to:
Posts (Atom)